“Open Heritage 3D makes primary 3D cultural heritage data open and accessible”
Open Heritage 3D เกิดจากความร่วมมือของ CyArk Historic Environment Scotland และ University of South Florida โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
- เป็นแหล่งเข้าถึงชุดข้อมูลมรดกวัฒนธรรมสามมิติแบบเปิด เพื่อการศึกษา การวิจัย และการใช้งานที่ไม่ใช่เพื่อการค้า
- ช่วยลดอุปสรรคเชิง เทคนิค การเงิน และกฎหมายของสำนักพิมพ์ต่างๆ โดยจัดทำเป็นชุดข้อมูลแบบเปิด ในรูปแบบไฟล์ open format
- สนับสนุนการค้นพบ เปิดเผยและการใช้ชุดข้อมูลจากเมทาดาทาและรูปแบบข้อมูลที่ได้มาตรฐาน
- สนับสนุนความร่วมมือและการแบ่งปันความรู้ในชุมชนมรดกวัฒนธรรมสามมิติ
- แบ่งปันแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ และระเบียบวิธีสำหรับแคปเชอร์ ประมวลผล และจัดเก็บข้อมูลมรดกวัฒนธรรมสามมิติ
แพลตฟอร์ม open heritage 3d ประกอบด้วยข้อมูลใน 2 รูปแบบหลัก คือ 1) ข้อมูลเชิงพื้นที่ หรือ Spatial data ได้แก่ LiDAR (ข้อมูลระบบนำแสงตรวจจับและจัดการ) – Terrestrial, LiDAR – Aerial, Photogrammetry (ข้อมูลการรังวัดด้วยภาพ) – Terrestrial, Photogrammetry – Aerial and Short Range Scans ซึ่งแต่ละโปรเจคอาจมีครบทุกรูปแบบหรือมีอย่างใดอย่างหนึ่ง และ 2) ข้อมูลเชิงลักษณะ (Attribute data) เช่น เมทาดาทา และรูปภาพต่างๆ เป็นต้น ทั้ง 2 รูปแบบสามารถเข้าถึงได้ 2 แบบ คือ
- ข้อมูลชุดตาราง (Table view) นำเสนอชุดข้อมูล (Data sets) แบบตาราง ประกอบด้วย Project Name Country DOI Status และ Collector โดยจัดเรียงข้อมูลตามตัวอักษรของชื่อ Project Name หากต้องการดูรายละเอียดหรือเมทาดาทาของโปรเจคนั้นๆ คลิกที่ Project Name
(ที่มา: https://openheritage3d.org/data)
- ข้อมูลแผนที่ (Map view) นำเสนอชุดข้อมูลโดยแผนที่และภาพถ่ายดาวเทียม ประกอบด้วยเมทาดาทาเบื้องต้นคือ Project Name Country Status Data Collected Date และ Collector
(ที่มา: https://openheritage3d.org/)
เมทาดาทาแบบระเอียดของข้อมูลทั้ง 2 แบบ ประกอบด้วย (เรียงลำดับตามที่ปรากฎบนเว็บไซต์)
- General Attributes: DOI Project name Country และ Status
- Download: ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) โดยคลิกลิงค์เพื่อเชื่อมต่อไปยังหน้าลงทะเบียน จากนั้นท่านจะได้รับอีเมลจาก Open Heritage 3D Team พร้อมรายละเอียดในการดาวน์โหลดข้อมูลแต่ละประเภท
(ที่มา: https://openheritage3d.org)
- Map View โดย Google Map
- Data Type: ให้ข้อมูลประเภทข้อมูลที่สามารถดาวน์โหลดได้ของแต่ละโปรเจค พร้อมให้รายละเอียดประเภทของอุปกรณ์ที่ใช้ในการสร้างข้อมูลเหล่านั้น ประกอบด้วย Data type Size Device name Device type
- Background: Site description Project description Google Arts & Culture Additional information (เช่น เว็บไซต์เจ้าของงาน เป็นต้น) Collection date Publication date License type ซึ่งเป็นข้อมูลที่ทาง Open Heritage 3D เน้นว่าควรมีข้อมูลเกี่ยวกับลิขสิทธิ์และการนำไปใช้ที่ชัดเจดในทุกโปรเจค จะเห็นได้จากตัวอย่างอีเมลด้านบนที่ระบุในอีเมลชัดเจนว่าโปรเจคนั้นๆ อยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตแบบใด และควรปฏิบัติอย่างไร)
- Entities: Contributors Collectors Funders Partners Site authority
- Citation: ข้อมูลสำหรับการเขียนรายการอ้างอิง
วิธีการดาวน์โหลดและเปิดข้อมูล LiDAR data และ Photogrammetry data
- คลิกดาวน์โหลดไฟล์ที่ต้องการจากลิงค์ที่ระบุในอีเมลที่ Open Heritage 3D Team ส่งไปให้หลังจากลงทะเบียนเพื่อขอดาวน์โหลดไฟล์แล้ว
- ดาวน์โหลด และติดตั้ง CloudCompare
- แตกไฟล์ *_lidar_terrestrial.zip เพื่อใช้ไฟล์ .E57 (file format เพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลรูปภาพสามมิติ)
- เปิด CloudCompare จากนั้น ลากและวางไฟล์ *.E57 ที่หน้าหลักของโปรแกรม สามารถดูรายละเอียดการใช้โปรแกรมนี้ ได้ที่นี่
- สำหรับไฟล์ Photogrammetry สามารถดาวน์โหลดโปรแกรม OSS หรือฟรี ที่ใช้เปิดไฟล์ประเภทนี้ ได้ที่นี่
จุดเด่นของแพลตฟอร์มนี้ คือ file format หรือ เมทาดาทา ถูกจัดทำอยู่บนพื้นฐานของมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูล และมาตรฐานสำหรับ open data เพื่อลดอุปสรรคในการเข้าถึงข้อมูลมรดกวัฒนธรรมแบบเปิดสามมิตินี้ นอกจากนี้ ทุกโปรเจคยังมีการระบุสัญญาอนุญาตที่ชัดเจน เพื่อให้ผู้นำไปใช้ทราบว่าตนสามารถนำชุดข้อมูลไปใช้ได้แค่ไหน นอกจากนี้ ทุกชุดข้อมูลมี DOI หรือตัวบ่งชี้วัตถุดิจิทัล เพื่อระบุชื่อ ตำแหน่ง หรือที่จัดเก็บ สืบค้น และเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลที่เผยแพร่และให้บริการบนอินเทอร์เน็ต
Open Heritage 3D ควรเพิ่มคำอธิบายหรือวิธีการเปิดไฟล์ประเภท Photogrammetry พร้อมแนะนำโปรแกรมที่ใช้เปิดแบบไม่เสียค่าใช้จ่ายเช่นเดียวกับที่แนะนำไฟล์ประเภท LiDAR ที่หน้าแนะนำการใช้งาน โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องเปิดเพื่อไปหาข้อมูลจากเว็บไซต์อื่นๆ อีก
1,146 total views, 1 views today